018 ธรรมปัจเวกขณ์ วันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๒๖ การฝึกตนที่จะปรับปรุง โดยเฉพาะปรับปรุง ทั้งกรรม ส่วนกาย วจี และมโน ให้มันเข้าสู่ การเป็นอริยชาติ เป็นสภาพที่เราเกิดใหม่ เกิดสู่ความเป็นอริยะ หรือ เป็นอารยชนที่แท้ เป็นผู้ดีที่จริง มีความเป็นอยู่ ที่ไม่หนักโลก ไม่หนักแผ่นดิน แต่เป็นประโยชน์ เป็นคุณค่า เป็นคุณสมบัติ เป็นสมบัติ อันวิเศษของโลก เราจะต้อง เรียนรู้จริงๆ ปฏิบัติประพฤติไป รู้จริงๆ ข้อสำคัญ เราอย่าขาดทุน ตรงที่ว่า เมื่อเราปฏิบัติไปแล้ว เราต้องมีฐานอาศัย คือจิตใจเรานี่ เป็นตัวฐานอาศัย เราจะต้อง เห็นให้ชัด ให้เด่น เห็นความมั่นใจ พระพุทธเจ้า สอนเรา เป็นขั้นตอน เบื้องต้น ท่ามกลาง บั้นปลาย แบ่งจัดแบ่งแยก เป็นขั้นๆ ให้เห็นว่า นี่เป็นฐานอาศัย ที่สบายแล้ว ขั้นต้น ขั้นกลาง โสดา สกิทา อนาคา เราได้อันนี้ เป็นฐานอาศัย เราสบายอย่างไร ให้มั่นใจ ให้เด็ดขาด พระพุทธเจ้าไม่ยอมรับว่า ผู้ที่ทำได้ โดยไม่รู้ตน พระพุทธเจ้าสอน ให้เราทำได้ แล้วรู้ว่าทำได้ เพราะผู้ที่ได้แล้ว เป็นได้แล้วด้วยซ้ำ แต่ไม่รู้ตัว ไม่รู้ตน ว่าตัวเองได้นั้น ไม่เที่ยง ถูกเขาหลอกได้ต่อ แล้วก็ไม่รู้ความจริงอีกละว่า ได้นั้นนะ ดีแล้ว ที่เราได้นั้น ดีแล้วนะ อย่าไปเที่ยว ให้คนอื่น เขาหลอกเอาอื่น ว่าดีกว่าไปอีก ต้องเห็นให้ชัด เข้าใจให้แม่น ว่าที่เราได้ ดีแล้วหนอ แล้วเรื่องอะไร ให้คนอื่นมาหลอก ทีเอาอื่นไม่ดี ให้มามอมเมา เขากลับเวียนนานไปอีก นั้นคือ ความไม่มั่นใจ หรือ ความไม่เด็ดขาด ความไม่รู้จริง ผู้ที่รู้จริง ว่าเราเอง เรามีฐานอาศัยที่ดี เราได้เลื่อนขั้น เลื่อนฐานะ ขึ้นมาสู่ภูมิ สู่ฐานะ ที่เป็นระดับ ระดับอริยะ อย่างที่กล่าวแล้ว ซึ่งเราบรรยายกัน บอกกัน ทั้งองค์ประกอบ ส่วนนอก ที่เป็นวัตถุ ที่เราไปเหลวไหล ทั้งอารมณ์จิต ที่เราไปเกี่ยวเกาะ ดูดดึง ผลักไส เราอ่านตัวเราให้จริง เห็นให้จริงว่า ใจเราละ กายเราก็ละ ถ้าแม้ว่า จะเกี่ยวข้อง สัมผัสสัมพันธ์ อยู่บ้าง อยู่ในโลก เพราะมันเป็นของโลก ความดี ความเลว หรือสมบัติ มีพิษไม่มีพิษอยู่ มันก็มีอยู่ในโลก แต่เราเป็นคนที่ เหนือพิษ เหนือไอ้ที่ เป็นสมบัติของโลก หรือ เป็นของที่มีอยู่ ในโลกแล้ว เราอยู่เหนือจริงๆ พิษนั้น ทำร้ายทำลาย อะไรเราไม่ได้ เพราะงั้น ตั้งแต่ขนาดต่ำๆ ตั้งแต่หยั่งรู้ง่าย เราก็ได้แนะนำกัน ได้พยายามให้กระทำ ให้พิสูจน์ ประมาณหนึ่ง เราจะมั่นใจว่า เอ้อ! อย่างนี้ เราอยู่เหนือแน่ แม้จะไม่ละเอียด จนกระทั่ง ถอนอาสวะ เพราะเรา ยังไม่มีปัญญารู้ว่า อาสวะคืออะไร ก็ตาม แต่เราจะรู้น้ำหนัก ของจิตใจ ของเราเลยว่า เราจืด เราวางได้สนิท เราไม่กระเทือนหรอก หรือ แม้กระเทือนบ้าง เล็กๆน้อยๆ เราก็มั่นใจว่า สิ่งที่มากระทบ กระเทือน อยู่นั้นนะ ดึงเราฉุดเรา ลงไปสู่อันนั้นอีก เวียนลงไปเสพ ไปติด หรือไปวุ่น ไปวาย ไปเป็นทาสมันอีกไม่ได้ เราจะต้องเห็นความจริง รู้อย่างชัด อย่างมั่น อย่าลังเลสงสัย เป็นคนที่รู้ขั้นตอน ทำให้เป็นจังหวะ จะโคน รู้จริงรู้จัง พิจารณาตรวจตรา เราจะได้มีฐานพักอาศัย ถ้าความที่ยังไม่รู้แน่ เราก็เวียนวน วกวน สูงแล้วก็ดูต่ำ ต่ำแล้วก็ดูสูง บางที เรารู้สึกว่า รู้สูง มีสูง อะไรดูสูงอีก แต่ก็เวียนวน หมุนเวียน ตกไปต่ำมา น่าอาย บางคนนั้นนะ ก็สูงอยู่ ปัญญาก็ดีอยู่ แต่ว่าปัญญาที่จะรู้ตน เรียกว่า สักกายะ หรือ อัตตานี่ รู้จริงๆ ของตัว ของตนนี่ มันไม่ละเอียดพอ ในความหมาย ในภาษารู้ดี แต่ตัวจิตจริง เป็นจริงหรือไม่เป็นจริง ไม่รู้จริง จิตของเราเป็นจริง ได้จริง ละจริง ไม่อ่านให้มั่นให้ชัด ไม่รู้ขอบเขต เมื่อไม่รู้ขอบเขตแล้ว มันจะต้องไปเกี่ยว ไปเกาะ ไปข้อง ไปวุ่น กะอันนั้นหรือไม่ ก็ไม่รู้ แล้วนำมา ให้เราเองนี่ อยู่ในฐานะดีแล้ว ก็กลายเป็นคน ตกไป ในฐานะที่ไม่ดีได้ ซ้อนอยู่ มันมีสภาพซ้อนอยู่ เพราะงั้น ขอให้พวกเรา เข้าใจให้ชัดเจน อย่าพร่ามัว ถ้าเผื่อว่า เรามีฐานพักแล้ว มันไม่มีการเลื่อนตกอะไร มากมายหรอก มันจะเลื่อนตก ก็มีแต่เลื่อนตก ด้านจิตใจ เล็กๆ น้อยๆ เสร็จแล้ว เราอ่านรู้ชัดเจน แล้วเราก็จะแก้ไข ปรับได้ ยิ่งโดยเฉพาะ ผู้ที่มีฐานะ ทางรูปธรรม ก็ได้สบายแล้ว ถ้าเผื่อว่า รูปธรรม ก็พรากห่างจากมา ได้ดีแล้วด้วย เหลือจิตใจ เท่านั้นเอง ถ้าเผื่อว่าจิต ก็ที่จริง จิตเรา มันก็ล่อน ก็จากมาแล้วด้วย แล้วเราจะต้อง ไปวกเวียนอีกทำไม กายก็พรากได้ ใจก็จางแล้วด้วย เราก็ต้องรู้ ให้มันชัด มันไม่ดีอย่างไร มันไม่เหมาะ ไม่สมอย่างไร ทำไมต้องเข้าไปคลุกคลี เข้าไปเกี่ยวข้อง สิ่งนั้นอีก เราก็จะต้องรู้ แม้แต่เราอยู่ เป็นพระ เป็นนักบวช เป็นผู้ที่ห่าง ที่พรากแล้วนี่ ก็ตาม โดยจริงแล้ว ใจก็พราก ใจก็แข็ง ก็กล้าแล้ว กายมันยังต้อง สัมผัสสัมพันธ์ ต้องเกี่ยวข้องอยู่ ก็ยังได้เลย แม้กายเรา สัมผัสสัมพันธ์ เกี่ยวอยู่ แต่เราก็ยังเป็น จิตที่แข็งแรงจริงๆ แล้วก็จะใช้บท สัมผัสสัมพันธ์ ในส่วนลึก ส่วนสูงนั่นแหละ เป็นบทฝึกหัด ที่มันซ้อนอยู่ ในตัวของมันเอง ตนย่อมรู้ตน ตนจะรู้ดีว่า เรานี้ได้ฝึกหัดอยู่ มีเศษมีเสี้ยวอะไร คนอื่นไม่รู้ได้ด้วยเรา แต่เราก็จะได้อาศัย สิ่งจริงเหล่านี้ ถ้าไม่มีของจริงพวกนี้ ล่อๆหลอกๆ แล้วมันไม่รู้หรอก โดยอาสวะ โดยอนุสัย หรือ โดยความละเอียดสูงขึ้น ในภพของจิตแล้วนี่ มันไม่รู้ มันรู้ไม่ได้ เพราะฉะนั้น ศาสนาพระพุทธเจ้า จึงเป็นศาสนา ไม่ได้หนี เหตุปัจจัย ไม่หนีเหตุปัจจัย แต่ที่มีรูปแบบ หรือมีวิธีการ พรากห่าง พรากไม้ที่ชุ่มด้วยยาง ออกจากน้ำ เป็นระยะยาวบ้าง ระยะสั้นบ้างนั้น ก็มีจริง นั่นก็เป็นวิธีการ ครั้งๆคราวๆ เพราะถ้าเผื่อว่า เราเอง เราสัมผัสสัมพันธ์ อยู่กับ เหตุปัจจัยนี้ มันสู้ไม่ได้จริงๆ เราอ่อนป้อแป้เลย เราต้องพราก ต้องห่างกันเสียก่อน อย่ารู้ อย่าเห็นเลย ทำอินทรีย์พละ ในส่วนอื่น ที่พอทำได้ ก็ทำไป เมื่ออินทรีย์พละดีขึ้น จิตใจเราดีขึ้น แข็งขึ้น ก็เป็นทุน ที่เราจะรู้ ด้วยปัญญาด้วย มันจึงจะมีความรู้ว่า สิ่งที่ควรล้าง ควรหน่าย มันมีผลดี จะเกิดน้ำหนัก อินทรีย์พละ เป็นศรัทธา เป็นวิริยะ เป็นสติ เป็นปัญญา เป็นสมาธิใหญ่ ที่จะเพิ่มขึ้นๆ แล้วเราก็จะได้ เพราะฉะนั้น เราละอะไรได้ เราจงละ เราทำอะไรได้ เราจงทำ อย่าไปเหลาะแหละ วนเวียนอยู่อย่างนั้น วุ่นไปวุ่นมา เหลาะแหละ เวียนไปเวียนมา ชาติแล้วชาติเล่า แล้วเราก็ไม่รู้ด้วยว่า วิบากเก่าบ้าง วิบากใหม่บ้าง ว่าเราทำดีแค่ไหน ตายจากชาตินี้แล้ว ไปเป็นหมูเป็นหมา นั่นจะไม่ซวยตายเหรอ เกิดมาเป็นคนชาตินี้ แล้วพบศาสนาด้วย แล้วมีคนเอาภาระ มีหมู่กลุ่มอันดี ช่วยเหลือ เฟือฟายแล้ว ตั้งใจเอาให้มัน จนมีหวังได้ว่า เราจะได้เกิด เป็นมนุษย์อีก หรือได้บรรลุ ชาตินี้เลยได้ ก็จะไปรอช้าอยู่ทำไม พยายามเข้า อย่างนั้นให้ได้ ก็ขอย้ำให้เห็นฐานพัก ให้รู้ด้วยจริงว่า เราจะต้องเป็น อุภโตภาควิมุติ คือเราละได้ ก็ละจริง และ รู้ได้ต้องรู้จริง ไม่ใช่ละได้ก็ไม่รู้ หรือ รู้และละไม่ได้ ไม่เอาทั้งสองอย่าง ต้องละได้ด้วย รู้ด้วย รู้แล้วก็ต้อง ละให้ได้ ละได้แล้ว ก็ต้องรู้ว่า ละได้ อย่างนั้นจริงๆ แล้วเราจะเป็น ผู้มีฐานพัก เราจะปฏิบัติธรรม ไปตามขั้นตอน เป็นผู้มีความมั่นคง แข็งแรง ไม่กลับไปกลับมา ไม่หกคะเมน ตีลังกา ไม่วกเวียน วุ่นวาย ให้ตัวเอง ก็ไม่เข้าท่า คนอื่นก็นั่งสงสัย ให้คนอื่น ก็ไม่มั่นใจ มันก็เลย ไม่ได้พากันดี ตัวเองก็ไม่ได้ดี แต่ถ้าเผื่อว่า ตัวเองก็ทำได้ดี ตัวเองก็มั่นใจ ไม่เหลาะแหละ มั่นคง เรารู้ได้แม่น เรารู้ได้ตรง เราชัดเจนดี ถ้าเราชัดเจนดีแล้ว ไม่มีปัญหา เราก็เป็นผู้ที่ แม้จะได้ช้า ก็เป็นการไปช้าที่ ก็ว่าช้า แต่ก็แน่นแน่นอน ที่เขานิยมพูดกัน เป็นภาษาอังกฤษว่า แม้ช้า แต่ก็ว่าแน่นอน ดี มันก็ยังดี ขอให้เราได้ละเอียดลออกัน เรามากันได้ ปานฉะนี้ ก็พยายามตรวจสอบ ตรวจอ่าน แล้วก็รู้จริง เห็นจริง เราจะได้เป็น ผู้ที่เบิกบาน แจ่มใส อย่างน้อยที่สุด เราก็มีฐานพัก อย่างน้อยที่สุด เราก็มั่นใจว่า ของจริงมี ความจริงมี ไม่ใช่มาปฏิบัติแล้ว ก็ไม่รู้ได้อะไร ไม่รู้ได้อะไร จริงหรือเปล่าก็ไม่รู้ เสร็จแล้วออกไป ออกจากนี่ไป ก็เลย ไม่ศรัทธาเลื่อมใส ในศาสนาด้วยเลย โอ๊ย! ไม่มีจริงหรอก พึ่งไม่ได้หรอกศาสนา ไม่ต้องเอาละ เลยกลายเป็น คนตกต่ำ ไปโดยไม่รู้ตัว ไม่รู้ตน ก็น่าเสียดายนะ ขอให้พวกเรา ได้ตั้งอกตั้งใจ ก็ไม่ต้องเคร่งเครียด แต่ว่าให้มันรู้จุด ที่เราจะกระทำ สำหรับตน สำหรับตน ซึ่งไม่เท่าเทียมกัน อะไรที่บกพร่อง อะไรที่ควรจะเสริม อะไรที่ควรจะทำ ให้มันดียิ่ง ในจุดนั้นจุดนี้ ตามที่พูดไปนี่มาก อธิบายอยู่มาก เขาก็จับเป้า จับจุดของตน ของแต่ละคน ให้แม่นดี เราก็จะได้เป็น ผู้ที่ได้เดินทาง ไปสู่ความประเสริฐ ตามที่พระบรมศาสดา ได้รู้ได้แจ้ง ตามจริงอันนี้ แล้วก็เอามา สั่งสอนไว้ สองพันกว่าปีแล้ว ยังยืนยาวมาอยู่ และแม้บัดนี้ มันจะอ่อนแรง หรือมันจะเจือจาง จนหาความจริง ได้ยาก มันก็ยังมีความจริงอยู่ ตามที่พวกเรา ได้เสาะแสวง เมื่อมาพบที่นี่ ก็พยายามอ่านความจริง จากที่นี่ให้ได้ จริงหรือเปล่า ถ้าจริงแล้ว เราให้ดีๆแล้ว เราจะเป็นผู้ที่ มีบันไดที่มั่นคง เดินขึ้นไป เดินขึ้นไปแล้ว ไม่ใช่เดินขึ้น แล้วก็วิ่งลง ดีเลวแล้ว ก็เดินขึ้น สลับสับไป อยู่อย่างนั้น มีแต่จะทิศทางเดินขึ้น และ เดินขึ้นไป ถึงที่สุด แห่งที่สุด อย่างดีกันทุกคน สาธุ.
ธรรมปัจเวกขณ์ ๒๕๒๖ |